วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระวางที่ดิน จำเป็นจริงหรือ (2)

กลับมาแว้วววว  หลังจากหายไปเลียแผลใจ ที่เขียนแล้วไม่มีคนสนใจ ....ล้อเล่นครับ ที่หายไปผมก็ทำแผนที่แปลงนาแสดงผลบน Google Earth ไปเรื่อยๆ มีการพัฒนาอย่างกระท่อนกระแท่น ตอนนี้ถึงขั้นพัฒนาระบบสืบค้นให้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นครับ  ถ้ามีเวลาผมจะเล่าให้ฟังครับ  ขอต่อจาก คราวที่แล้ว ซึ่งทิ้งระยะนานมากๆๆๆๆ  นานจนผมเกือบเข้าบล็อกตัวเองไม่ถูก..5555
ผมได้อ่านระวางที่ดิน 1:50,000 เพื่อไปขอถ่ายระวางที่ดิน 1:4,000 จากกรมที่ดิน แบบล้มลุกคลุกคลาน ดำเนินการไปได้สักพัก ใช้เงินในการไปถ่ายระวางที่ดิน ไปไม่ใช่น้อย งานก็ยังไม่คืบหน้า เพราะตามที่เขียนเล่าให้ฟังแล้วว่า ผมต้องเอาหมายเลขหน้าสำรวจ และหมายเลขที่ดิน ไปขอค้นเลขที่โฉนด แต่ละแปลง ซึ่งอยู่ชั้นล่างของที่ทำการสำนักงานที่ดิน งานพี่เค้าคงงานเยอะและยุ่งมากๆๆๆเพราะได้ยากมากๆๆๆๆ  (มีรายละเอียดและปัจจัยอย่างอื่นอีกมากมาย ไม่ขอกล่าวถึง...ใครอยากรู้ลองไปขอคัดเลขโฉนดที่ดินดู...อิอิ)  ผมก็ชักแม่น้ำทั้งหมดของประเทศไทย (ชักแม่น้ำทั้ง 5...ไม่พอ) ก็ได้ข้อมูลมานิดหน่อย หรือจะเรียกว่าไม่ได้เลยก็น่าได้....--" ผมกลับมานั่งคิด นอนคิด อยู่หลายวันจะทำยังไงดี จะเลิกทำก็กลัวเสียฟอร์ม เพราะคุยไว้เยอะ..555 และแล้ว เหมือนฟ้าเห็นใจผม ให้ผมพบทางสว่างแห่งชีวิต มีอยู่วันหนึ่งมีช่าง อบต.แห่งหนึ่ง (ขอไม่เอ่ยนามทั้งที่อยากจะขอบคุณออกสื่อมากๆ) มาหาผมที่ทำงานเรื่องขออนุญาตก่อสร้างในเขตชลประทาน เป็นงานดาดคอนกรีตคูส่งน้ำ ผมก็ถามพี่เค้าว่า "พี่ได้ประชุมเกษตรกรที่ใช้น้ำในคูสายนี้ยัง " พี่ช่าง อบต.ก็ตอบว่าทำแล้วเรียกประชุมโดยมีหนังสือเชิญทุกแปลงนา..."  เหมือนเสียงสวรรค์...ผมรีบถามพี่เค้าว่าพี่รู้ได้ไงว่าใครอยู่แปลงไหน และแปลงไหนใช้น้ำจากคูสายนี้.....พี่เค้าหัวเราะแกมเย้ยหยัน หรือขำในท่าทีตื่นเต้นของผมหรือป่าวก็ไม่รู้...ผมเล่าให้พี่เค้าฟังในสิ่งที่ผมอยากจะทำ และปัญหาของผม.....พี่เค้าบอกว่า ที่ อบต.มีแผนที่ระวางที่ดินทั้งตำบล เพราะต้องใช้ทำแผนที่จัดเก็บภาษีที่ดิน....ผมรีบถามต่อ "ผมขอยืมมาถ่ายได้มั๊ยพี่...ต้องทำอะไรบ้างครับ" คำตอบของพี่เค้าทำให้ผมพบทางออกของปัญหา...."ไม่ต้องยืมไปถ่ายหรอก ยืมไปใช้ได้เลย เพราะที่ อบต.จะใช้แค่ตอนจัดเก็บภาษีเท่านั้น...แต่ต้องเอามาคืนพี่นะ..."  อบต.เก็บภาษี ประมาณ 2-3 เดือน นั่นแสดงว่า ผมสามารถเอาแผนที่ระวางที่ดินไปใช้ได้ 9-10 เดือน....โอ้แม่เจ้า ทำไมผมไม่พบพี่เค้าเร็วกว่านี้นะ จะได้ไม่ต้องเสียเงินไปตั้งเยอะ.....ก่อนกลับพี่เค้ายังบอกอีกว่า "ลองไปดูทุก อบต.ดิ พี่คิดว่าทุก อบต.ต้องมีระวางที่ดิน เพราะต้องใช้เก็บภาษี บางแห่งทำเป็นไฟล์ดิจิตอลก็มี เรามียันเลขที่โฉนดที่ดิน..555 (เหมือนพี่เย้ยหยันก่อนจาก..อิอิ)".....อั๊ยยะ!!! อบต.สุดยอดๆๆๆ....สรุปวันนั้นไม่ได้คุยเรื่องงานพี่ ช่าง อบต.เลย ..5555  ขอบคุณมากครับพี่....ขอไปทำงานก่อนนะ..มีเวลาจะมาเล่าต่อ...และจะเอาแผนที่จัดเก็บภาษีมาให้ดูกันด้วยว่ามันจะช่วยอะไรเราได้บ้าง....บายยยย

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

การอ่านระวางที่ดิน 1:4000 จากแผนที่ทางทหาร 1:50,000

ตามที่ผมได้รับปากไว้ว่าจะบอกวิธีที่ผมอ่านแผนที่ระวางที่ดิน 1:4,000 จากแผนที่ทางทหาร 1:50,000 เพื่อไปของยืมแผนที่ระวางที่ดินจากเจ้าหน้าที่ที่ดิน จากรูปที่ 1 แผนที่ที่ดิน 1:4,000 ระวาง 5038 III 1410 ได้มาจากแผนที่ทางทหาร 1:50,000 ระวาง 5038 III  ส่วน 1410 ได้มาจากการอ่านพิกัด

รูปที่ 1   ระวางที่ดิน 1:4,000
การอ่านพิกัดก็เหมือนการอ่านจุด Coordinate แกน x ,y ทาง พีชคณิต ปกติ    x = 14 ,y = 10 และพื้นที่ตามระวางที่ดิน 1:4,000 จะอยู่ด้านบนขวามือของจุดพิกัด ตามรูปที่ 2
รูปที่  2  แผนที่ทางทหาร  1:50,000

ส่วนระวางต่อไปก็อ่านต่อไปเรื่อยๆ....1412....1416.....1420......1610....1612....ข้อสังเกตุ  จะเป็นเลขคู่นะครับ แล้วก็นับไปทางขวา 2 ช่อง และนับไปข้างบน 2 ช่อง จะได้พื้นที่ 4 ช่องเล็ก ตามพื้นที่สีแดง นั่นก็คือ แผนที่ระวางที่ดิน 1:4,000  จำนวน 1 ระวาง หรือ 1 แผ่น แผนที่ทางทหารมาตราส่วน 1:50,000  1 แผ่น  จะได้แผนที่ระวางที่ดิน 1:4,000 จำนวนกี่แผ่น ต้องคำนวณเอาครับ       และแผนที่โครงการฯที่ผมต้องทำแปลงกรรมสิทธิ์ มีแผนที่ทางทหาร ทั้งหมด 6 แผ่น จะต้องใช้แผนที่ระวางที่ดิน 1:4,000 จำนวนกี่แผ่น นี่ยังไม่รวม ระวาง 1:2,000 นะครับ และถ้าพื้นแปลงนามีพื้นที่น้อยมากๆ อาจก็ต้องใช้มาตราส่วน 1:1,000 หรือ 1:500 ก็ได้  (ค่าถ่ายแผนที่แผ่นละประมาณ 27 บาท จะเป็นเงินเท่าไหร่ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งครับที่ผมต้องทยอยยืมมาถ่าย เพราะถ่ายครั้งเดียวไม่ไหวครับ...555.)  เมื่อได้ระวางแล้วผมก็เอาระวางไปที่ที่ดินอำเภอ เพื่อขอยืมแผนที่ระวางที่ดินไปถ่าย...แล้วผมจะเล่าให้ฟังต่อไปครับ....

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

ระวางที่ดิน...จำเป็นจริงหรือ (1)


.......ผมไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินส่วนแยกตามอำเภอ อาศัยความคุ้นเคยส่วนตัวที่ทำงานด้วยกันในการชี้เขตชลประทานที่มีทุกวันและทุกอำเภอ แต่ผมจะคุ้นเคยกับพี่พี่ช่างสำรวจ แต่หัวหน้าสำนักที่ดิน ไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ก็มีบางสำนักที่ดินส่วนแยกอำเภอ ที่ทำหน้าที่สำรวจด้วย ก็เลยคุ้นเคยกันอย่างดี.....และนี่คือเป้าหมายต่อไปครับ.....หุหุ
สำนักงานที่ดินส่วนใหญ่ผังบริเวณเหมือนกันหมดครับ คือ ชั้นบนเป็นส่วนของสำรวจรังวัดที่ดิน ชั้นล่างเป็นส่วนของข้อมูลที่ดิน หรือทุกอย่างอยู่ชั้นล่าง ข้างบนเป็นสำรวจรังวัด ผมไปที่ชั้นบน ไปหาช่างสำรวจที่คุ้นเคยกัน (ผมคิดเองครับ) ที่นี่มีทุกอย่างครบครับ ระวางที่ดินมีครบทั้งอำเภอ แต่แผนที่บางระวางยังไม่ได้ปรับปรุงเพราะงานที่ดินเยอะมากครับแต่ช่างสำรวจน้อย ต้องหมุนเวียนสลับกันทำงาน จนบางครั้งผมก็สับสนว่าพี่เค้าอยู่ที่ไหน วิบากกรรมเก่าผมยังไม่หมด กรรมใหม่ก็มาอีกครับ ตามที่ผมบอกที่นี่มีระวางที่ดินครบทั้งอำเภอ แต่แปลงนาที่ผมต้องการอยู่ระวางไหนหล่ะ จะเอามาทั้งหมดก็ไม่ไหว เพราะมันเยอะมาก พี่ช่างสำรวจ ก็แนะนำผมว่า ผมต้องจดระวางที่ดินที่ต้องการมาดู  ถึงจะหาได้ เมื่อได้แล้ว ผมจะเอาไปถ่ายก็ได้ แต่ต้องรีบเอามาคืน เพราะพี่เค้าต้องใช้งานทุกวัน คือต้องขอยืมไปถ่ายตอนเย็น เช้าต้องมาคืน จึงเอาไปหลายแผ่นไม่ได้.อย่างเก่งก็ขอยืมเย็นวันศุกร์และเอาไปคืนเช้าวันจันทร์...แต่ไม่ใช่ปัญหาขอให้ยืมอย่างเดียว (เพราะมีสำนักงานที่ดิน อีกหลายที่ไม่ค่อยให้ยืม มันมีสาเหตุครับ ผมจะบ่นให้ฟังภายหลัง ถ้าไม่ลืมนะครับ) แล้วผมจะเอาหมายเลขระวางที่ไหนครับ พี่เค้าบอกให้อ่านจากแผนที่ทางทหาร 1:50,000 วิธีการอ่านผมจะเล่าให้ฟังในตอนต่อไปครับ.....ระวางที่ดินปกติจะใช้มาตราส่วน 1:4,000 ลองนึกภาพนะครับ ในแผนที่ทางทหาร สี่ช่องเล็ก เท่ากับ ระวางที่ดิน 1:4,000 จำนวน 1 แผ่น ยังไม่หมดครับ บางแปลงที่มีขนาดเล็กมากต้องไปเขียนอีกแผ่นในมาตราส่วน 1:2,000 แล้วทั้งหมดมันจะกี่แผ่นครับ ดังนั้นถ้าใครไปขอยืมระวางที่ดินอย่าพึ่งดีใจนะครับ ที่เห็นเป็นที่ว่างๆ นั่นแหละคือช่างที่ดินเค้าไปเขียนในแผ่นมาตราส่วน 1:2,000 เมื่อได้ระวางที่ดินมาแล้ว ปัญหายังไม่จบครับ เพราะในระวางที่ดิน แม้จะมีรูปแปลงตามที่ผมต้องการ แต่ในระวางที่ดิน บอกหมายเลขที่ดินกับหมายเลขหน้าสำรวจ ไม่มีหมายเลขโฉนด  แล้วผมจะเอารายละเอียดของเกษตรกรที่ได้จากสำนักงานเกษตรใส่ลงในระวางที่ดินได้ยังไง  และนี่ก็คือวิบากกรรมขั้นต่อไปของผมครับ....

สำนักงานเกษตร...พระเอกของผม


........ผมทำเหมือนเป็นนักเขียนอาชีพ ที่จริงอย่าคิดว่าเป็นงานเขียนเลยครับ คิดว่าเป็นการบ่นผ่านตัวอักษรดีกว่า สาระมีหรือปล่าวไม่รู้ 555
ตอนที่แล้วผมลืมบอกไปว่า วัตถุประสงค์ของการทำของผมก็คือ เมื่อมีเกษตรกรโทรมาขอให้ช่วยแก้ไขปัญหา ผมสามารถรู้ได้ทันทีว่านาแปลงนี้อยู่ตรงไหนของประเทศไทย และบริเวณใกล้เคียงมีแหล่งน้ำหรือทางน้ำอะไรบ้าง สภาพภูมิประเทศเป็นอย่างไร และเจ้าหน้าที่ชลประทานคนไหนเป็นผู้แล ที่เรียกว่าพนักงานส่งน้ำหรือโซนแมน เมื่อได้ตัดสินใจแล้วว่าจะใช้ Google Earth ทำแผนที่ ปัญหาต่อมาคือ มันทำยังไง ผมไม่เคยใช้ ผมเลยใช้วิธี บอกทุกคนว่าผมจะทำ แผนที่แปลงนา แสดงผลบน Google Earth ทั้งที่ขณะนั้นผมยังไม่ได้โหลดโปรมแกรมมาดูเลยครับว่าหน้าตามันเป็นยังไง.....พูดง่ายๆคือ ยังไม่รู้อะไรเลย พอผมประกาศออกไปแล้ว ก็ต้องพยายามทำให้ได้ครับ....หาเรื่องแท้ๆ เพราะถ้าทำไม่ได้ มีคนอีกหลายสิบคนที่รอเยาะเย้ยผมอยู่....วิบากกรรมผมยังไม่หมด ผมจะไปหาข้อมูลเกษตรกรที่ไหน จะเริ่มต้นตรงไหนดี ข้อมูลเกษตรก็ต้องขอที่เกษตรถูกมั๊ยครับ.....บ๊ะ...ง่ายดีแท้ เริ่มลุยเลยครับ ผมวางเป้าหมายไปที่เกษตรตำบลนำร่อง (คำยอดฮิต อะไรไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ ใช้เป็นนำร่องไปก่อน ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าร่องอะไร) เมื่อไปถึงเกษตรตำบล ผมก็เจรจา ขอดูข้อมูลอย่างสันติ...555 ก็ได้รับคำตอบคือ ข้อมูลที่ทำการขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ส่งไปที่เกษตรอำเภอแล้ว และพื้นที่ที่ยังไม่ได้ส่งไปก็ยังไม่ได้ประชุม.....แป่วๆ ต้องเปลี่ยนเป้าหมายทันทีครับ เป้าหมายใหม่คือเกษตรอำเภอนำร่อง (อีกแล้วครับท่าน) ไปหลายอำเภอครับ ก็ได้คำตอบที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลส่งไปที่จังหวัดแล้ว ไม่ได้เก็บสำเนาไว้ ,ข้อมูลอยู่ในคอมฯยังไม่ได้แยกเป็นระดับหมู่บ้าน หรือข้อมูลมีแต่ต้องเอาคนมาคัดลอกเอง แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหามันอยู่ที่ข้อมูลไม่ครบ เพราะเกษตรกรที่ขายข้าวเงินสดไม่ได้เข้าโครงการรับจำนำข้าว จึงไม่มีข้อมูล และที่สำคัญแปลงนาแต่ละแปลงถึงมีหมายเลขโฉนด แต่ไม่รู้ว่าแต่ละแปลงอยู่ตรงไหนในแผนที่ แล้วผมจะไปต่อยังไง....แต่ก็ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากครับ ต้องขอขอบคุณ พี่พี่ เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ และเกษตรจังหวัดทุกที่ที่ผมไปรบกวนครับ.....เอาหล่ะครับผมเดินทางมาครึ่งทางแล้ว (ผมคิดเอาเอง) ผมมีหมายเลขโฉนดที่ดินของเกษตรกรบางส่วนแล้ว ผมก็ดำเนินการขั้นตอนต่อไปคือ หาให้ได้ว่าแปลงนาที่มีข้อมูล อยู่ที่ไหนบนพื้นผิวโลก...พูดให้ยิ่งใหญ่....5555. อยากรู้ที่ดินก็ต้องไปกรมที่ดินใช่มั๊ยครับ.....และนี่ก็เป็นวิบากกรรมขั้นต่อไปของผม

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทำไมต้อง Google Earth



งานชลประทานบริการประชาชน เป็นงานที่ละเอียดอ่อน แต่ข้อมูลที่มีอยู่ในมือค่อนข้างหยาบ...ไม่ใช่หยาบโลนหรือหยาบคายนะครับ คือข้อมูลละเอียดไม่พอ ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลในภาพรวม (คือเอาโน้นนิด เอานี่หน่อย มารวมกันจนเกิดเป็นภาพเบลอๆหรือภาพเชิงซ้อน...5555) และข้อมูลที่มีก็เป็นข้อมูลที่มีค่ามากคือเป็นวัตถุโบราณและเป็นมรดกตกทอดกันมาหลายรุ่น ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ควรต้องมีถึงระดับแปลงนากันเลยทีเดียว แต่ที่มีแค่ระดับคลองส่งยังเป็นภาพรวม ยังดีนะในพื้นที่จัดรูปที่ดินยังพอมีให้ใช้ข้อมูลเชิงลึกในระดับแปลงนา แต่พอเกษตรกรมีปัญหาขอความช่วยเหลือนาข้าวทั้งในกรณีน้ำน้อยและน้ำมาก ต้องเอามือก่ายหน้าผากครับน้องพี่ (ถ้าเท้ายกก่ายถึงคงเอามาก่ายด้วย) เพราะข้อมูลในเขตจัดรูปที่ดินที่ว่าเจ๋งของผมที่มี พอจะใช้งานจริง มีแต่ข้อมูลของเจ้าของนา เกษตรกรส่วนใหญ่เช่านาคนอื่น หรือเช่านาตัวเองทำ ไม่มีข้อมูลซะงั้น กลายเป็นว่า ข้อมูลที่มีใช้ไม่ได้ ข้อมูลที่จะใช้ไม่มี ทำไงหล่ะครับทีนี้ เห็นทีผมต้องทำการหาข้อมูลอย่างละเอียดระดับแปลงนาทั้งโครงการฯ ซะแล้ว คิดมานานครับว่าจะทำแต่ก็ไม่ได้ทำซะที จนกระทั้งเจ้านายใหญ่ ผู้อำนวยการสำนักชลประทาน มีคำสั่งให้ทุกโครงการฯจัดทำแผนที่แปลงนา แสดงผลบน Google Earth แต่ก่อนหน้านั้น ผมประสบปัญหาในการทำงานอย่างมากครับ ผมขอเล่าให้ฟังนิดหนึ่งนะครับ เป็นเรื่องที่จุดประกายความคิดของผมก็ว่าได้ คือประมาณปี 2549 ตอนนั้นผมยังเป็นหัวหน้าฝ่ายส่งน้ำฯอยู่ครับ มีคุณป้าเกษตรกร ท่านหนึ่งได้โทรศัพท์มาหาผม ว่านาของแกน้้ำไม่ถึงข้าวกำลังจะตาย...(ผมไม่รู้ว่าแกปลูกข้าวพันธุ์อะไร พอไม่มีน้ำแค่สองวันข้าวจะตายแล้ว ถ้ารู้ผมจะบอกเกษตรกรรายอื่นว่าอย่างปลูกข้าวพันธุ์นี้ เพราะสำออยมาก....อิอิ ล้อเล่นนะ) ผมก็อยากให้ลูกน้องออกไปดูว่าจะหาทางช่วยเหลือป้าแกอย่างไรได้บ้าง อยากรู้พื้นที่แน่นอนก็ถามแกว่า
 "คุณป้าใช้น้ำจากคลองอะไรครับ" แกบอกว่าไม่รู้ ผมก็คิดว่าเป็นธรรมดา เพราะผมไม่ได้ติดป้ายบอกชื่อคลองทุกสิบเมตรแกจะรู้ได้ไง แต่คูน้ำที่แกใช้น้ำน่าจะรู้เพราะมีกลุ่มผู้ใช้น้ำเกือบทุกกลุ่ม ผมก็ถามต่อว่า "แล้วคุณป้าใช้น้ำจากคูอะไรครับ ผมขอรายละเอียดด้วย ผมจะได้หาทางช่วยเหลือป้าได้ทัน...(.ก่อนที่ข้าวของป้าจะน้อยใจและชิงเอารวงฟาดกันฆ่าตัวตายเสียก่อน...อันนี้ผมได้แต่คิดครับ...อิอิ)....ครับ" คำตอบได้ ทำให้ผมรู้ทันทีว่าผมจะอยู่เฉยๆ ใช้ข้อมูลอันล้ำค่าที่เป็นมรดกตกทอดกันมาต่อไปไม่ได้อีกแล้ว แกตอบผมว่า  "(กรุณาอ่านออกสำเนียงสุพรรณเพื่อจะได้ถึงอารมณ์ของเรื่อง) ฉันก็ไม่รู้หรอกนะว่ามันเป็นเหมืองอะไร แต่ช่วงต้นเหมืองมีต้นตะขบอยู่สองต้น ที่นาของฉันอยู่ติดกับนาไอ้เชียร ลูกยายชม...รีบมาดูให้หน่อยนะข้าวจะตายแล้ว.....ตึ๊ดๆๆๆๆ )อันหลังเป็นเสียงโทรศัพท์เข้าใจว่าแกคงให้หลานหยอดเหรียญโทรมาแล้วหมดเวลาพอดี   เอาหล่ะสิ ที่นี้ผมจะช่วยชีวิตข้าวที่บอบบางได้ยังไง และเหมืองมันคืออะไร (ตอนหลังถึงรู้ว่าเหมืองก็คือคูน้ำนี่แหละครับ).....จากวันนั้นถึงวันนี้ผมยังไม่รู้เลยครับว่านาแกอยู่ตรงไหน ผมแก้ไขโดยขอน้ำเพิ่มและเปิดเข้าทุกคลอง และได้แต่ภาวนาว่าน้ำคงถึงนาแก...ถ้าคุณป้าอ่านเจอช่วยเม้นตอบด้วยนะครับว่าตกลงวันนั้นข้าวตายหรือเปล่าครับ.....ผมจึงต้ังใจว่าผมต้องทำแผนที่ใหม่ ต้องมีข้อมูลจนถึงระดับรากหญ้าให้ได้.....แต่จะทำยังไงหล่ะ..คิดคิดคิด...สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ....จนเวลาผ่านไปหลายปี โดยผมทนใช้ข้อมูลในภาพรวมที่เป็นมรดก ถูๆไถๆ มาเรื่อย จนได้เวลาที่ตัดสินใจทำอย่างจริงจัง ขั้นแรกผมเขียนในกระดาษว่าผมต้องการข้อมูลอะไรบ้าง  จนสามารถสรุปได้ดังนี้ครับ
1.ชื่อ นามสกุล ของเจ้าของนาและ(ผู้เช่า)เพราะต้องการผู้ที่ทำนาจริงๆ เวลาเดือดร้อนคนที่ร้องเรียนคือคนทำนา เจ้าของนานอนดูหนังอยู่บ้านรอเก็บค่าเช่าอย่างเดียว ไม่ใช่อย่างเดียวสิ นอนคิดด้วยว่าถ้าคนเก่าไม่จ่ายค่าเช่าหรือเว้นการทำนาจะให้ใครเช่าแทนดี (อันนี้ผมล้อเล่นครับ ที่จริงเจ้าของนาเป็นห่วงคนเช่ามาก...กลัวไม่ได้ค่าเช่านา...อิอิ)
2.หมายเลขประจำตัวประชาชน
3.หมายเลขโฉนด
4.จำนวนพื้นที่การเกษตร
5.จุดที่ตั้งของแปลงนาว่าอยู่ตรงไหนของโลกใบนี้ (อยากรู้ว่าไอ้ต้นตะขบสองต้นนั้นมันอยู่ตรงไหน)
6.แปลงนานั้นใช้น้ำจากคลอง คู อะไร
7.พันธุ์ข้าวที่ปลูก
8.วันที่ปลูกและวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว
9.หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล Facebook ID หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้ผมสามารถติดต่อเกษตรกรได้
ผมมานั่งดูข้อมูลที่เขียนถ้าผมมีครบ คงทำงานง่ายแน่ๆ แล้วผมจะทำแผนที่แบบไหนดี จะใช้มือเขียนบนกระดาษไขก็ใช้ได้แต่จะแก้ข้อมูลก็ต้องเขียนกันใหม่ จึงตัดสินใจเขียนแผนที่ในรูป Digital ดีกว่าดู ไฮโซ ดี แต่จะใช้โปรแกรมอะไรดี ก็ผมไม่เป็นสักโปรแกรม แต่ที่เห็นเค้าทำกัน ก็มี AutoCad ,ArcView และอื่นๆ อีกมากมาย แต่โปรแกรมพวกนี้ต้องซื้อครับ ผมคงไม่มีปัญญาไปซื้อมาใช้ ถึงมีปัญญาก็ไม่กล้าไปซื้อมาใช้ เพราะยังไม่รู้ว่าจะทำได้หรือไม่ แต่ถ้าจะใช้โปรแกรมที่ Crack มาก็ไม่สามารถไปใช้นำเสนอที่ไหนได้ เพราะติดเรื่องลิขสิทธิ์ ก็ต้องหาโปรแกรมฟรีมาใช้งาน สุดท้ายก็จบที่ Google Earth ไม่ใช่ Google Earth Pro นะครับ เพราะมันต้องซื้อเหมือนกัน...555   แต่วิบากกรรมของผมกำลังจะตามมาลงโทษผม....ผมจะเล่าให้ฟังในตอนต่อไปครับ


- Posted using BlogPress from my iPad